การทำงานของMainboard
แผงวงจรวงจร Mainboard
ถ้าถามว่าในคอมพิวเตอร์
อะไรสำคัญที่สุด คำตอบที่ออกมาคงเป็น ซีพียู
จะมีสักกี่คนที่นึกถึงความสำคัญของเมนบอร์ดบ้าง ลำพังอย่างเดียวจะไปทำอะไรได้
ถ้าในเครื่องคอมมีแผงวงจรอะไรมากมาย สามสี่แผง แล้วจะทราบได้ยังไงว่าแผงไหนคือ
เมนบอร์ด สังเกตูดูที่แผงที่ใหญ่ที่สุดนั่นแหละคือสิ่งที่เรากำลังจะพูดถึง
หน้าที่ของเมนบอร์ด
แผงวงจรหลักเปรียบเหมือนกับพื้นที่ชุมชน
และ เส้นทางการคมนาคม และ แผงควบคุมการจราจรเมนบอร์ด (Mainboard) จะมาชิพเซ็ตที่เป็นตัวบ่งบอกถึงรุ่นของเมนบอร์ด
ในเมนบอร์ดจะประกอบด้วย socket
สำหรับใส่ cpu แต่ละรุ่นจะไม่เหมือนกัน จะมีสล็อตแรม อยู่ประมาณ
2 สล็อต มีชิพ ไบออส (Bios) สำหรับ เช็คอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ
/มีสล็อตใส่การ์ดจอเรียกว่า AGP/สล็อตสีขาว
คือ PCI ซึ่งใส่จำพวก LANการ์ด /SOUNDการ์ด เมนบอร์ดจะมี socket เพื่อใส่ซีพียู
เรามาดูกันว่า Socket แต่ละอันนั้น ใช้กับ CPU รุ่นใด Socket 370 เป็นSocketรุ่นเก่ามากใช้CPUของ intel
celeron ,pentuam เป็นต้น
ซึ่งรุ่นนี้จะออกมาเป็นรุ่นแรก ๆ Socket 478 เป็นSocketที่ใช้ในCPUของ
intel celeron D ,pentuam
4 Socket 775 เป็นSocketที่เพิ่งออกมา โดยทางบริษัท อินเทล เป็นผู้ผลิตออกมา
ใช้กับซีพียูแบบใหม่ ซึ่งซีพียูรุ่นนี้จะไม่มีขา แต่จะมีขาอยู่ที่เมนบอร์ดแทน
เมนบอร์ดประกอบด้วย
1. ชุดชิพเซ็ต
ชุดชิพเซ็ตเป็นเหมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกทีหนึ่ง
อุปกรณ์ตัวนี้มีหน้าที่หลักคือ คอยควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ
ชิพเซ็ตนั้นจะประกอบไปด้วยChip 2 ตัว คือชิพ System Controller หรือ AGPSET หรือ North
Bridge เป็นชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์หลักๆ ความเร็วสูงชนิดต่างๆ
บนเมนบอร์ดที่ประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำแคชระดับสอง (SRAM) หน่วยความจำหลัก (DRAM) ระบบกราฟิกบัสแบบ AGP และระบบบัสแบบ PCI
กับชิพ PCI to ISA Bridgeหรือ South Bridge จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างระบบบัสแบบ PCI กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าเช่นระบบบัสแบบ ISA ระบบบัสอนุกรมแบบ USB ชิพคอนโทรเลอร์ IDE ชิพหน่วยความจำรอม โดยลักษณะการใช้งานนั้นจะขึ้นอยู่กับซีพียู ที่ใช้อยู่เป็นหลัก โดยแต่ละยี้ห้อนั้นจะมีจุดดีจุดด้อยแตกต่างกันไป
กับชิพ PCI to ISA Bridgeหรือ South Bridge จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างระบบบัสแบบ PCI กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าเช่นระบบบัสแบบ ISA ระบบบัสอนุกรมแบบ USB ชิพคอนโทรเลอร์ IDE ชิพหน่วยความจำรอม โดยลักษณะการใช้งานนั้นจะขึ้นอยู่กับซีพียู ที่ใช้อยู่เป็นหลัก โดยแต่ละยี้ห้อนั้นจะมีจุดดีจุดด้อยแตกต่างกันไป
2. หน่วยความจำROMไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพ
ไบออส BIOS หรือซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ชิพซีมอส จะต้องการพลังงานไฟฟ้าในการเก็บรักษาข้อมูลอยู่ตลอดเวลาซึ่งพลังงานไฟฟ้า ก็จะมาจากแบตเตอรี่แบ็คอัพที่อยู่บนเมนบอร์ด (แบตเตอรี่แบ็คอัพจะมีลักษณะเป็นกระป๋องสีฟ้า หรือเป็นลักษณะกลมแบนสีเงิน ภายในจะบรรจุแบตเตอรรี่แบบลิเธี่ยมขนาด 3 โวลต์ไว้) แต่ตอ่มาได้รวมชิพทั้งสองเข้าด้วยกัน และเรียกชื่อว่าชิพรอมไบออสเพียงอย่างเดียว แต่ต่อมาได้มีการพัฒนา เทคโนโลยชิพรอมขึ้นมาใหม่ ให้เป็นแบบ EEPROM หรือ E2PROM โดยคุณจะสามารถทั้งเขียน และลบข้อมูล โดยใช้ซอฟต์แวร์พิเศษ ได้ด้วยตัวเองอย่างง่าย ดังที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
3. หน่วยความจำแคชระดับสอง
ที่ทำหน้าเป็นเหมือนหน่วยความจำ และบัฟเฟอร์ให้กับซีพียู โดยใช้หลักการ การทำงานร่วมกับอุปกรณ์ที่ความเร็วสูงกว่า ทำให้เสียเวลา ไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์ ที่มีความเร็วต่ำนั้น ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะCPUมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่CPUต้องการข้อมูล ซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช
เราจะรู้ได้ยังไงว่าเมนบอร์ดที่เราใช้อยู่
รองรับอุปกรณ์ Onboard อะไรบ้าง
หากอยากรู้เราทราบได้โดยไม่ยาก ให้ดูที่ด้านท้ายเคส จะมีพอร์ตสำหรับ ต่อ เมาส์ และคีย์บอร์ด และถ้าหากเมนบอร์ดมีอุปกรณ ์ Onboard อื่นให้มาด้วยก็จะมีพอร์ตสำหรับอุปกรณ์นั้นเช่น พอร์ต Modem, Lan, VGA, Sound คือ ถ้าพบว่ามีพอร์ตดังกล่าวอยู่ท้ายเคสก็สามารถเสียบใช้งานได้ ทันที
หากอยากรู้เราทราบได้โดยไม่ยาก ให้ดูที่ด้านท้ายเคส จะมีพอร์ตสำหรับ ต่อ เมาส์ และคีย์บอร์ด และถ้าหากเมนบอร์ดมีอุปกรณ ์ Onboard อื่นให้มาด้วยก็จะมีพอร์ตสำหรับอุปกรณ์นั้นเช่น พอร์ต Modem, Lan, VGA, Sound คือ ถ้าพบว่ามีพอร์ตดังกล่าวอยู่ท้ายเคสก็สามารถเสียบใช้งานได้ ทันที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น