วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การทำงานของเคส

เคส (CASE)


เคสแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภทตามชนิดของเคสคือ แบบ AT และ แบบ ATX เนื่องจากโดยปกติเมื่อซื้อเคสเปล่า แหล่งจ่ายไฟ หรือ power supply จะติดมากับเคสด้วยขนาดของแหล่งจ่ายไฟในปัจจุบันจะมีขนาด 230 และ 250 วัตต์ และ 300 วัตต์ ถ้ามีอุปกรณ์ต่อพ่วง ในคอมพิวเตอร์เยอะก็ควรเลือกวัตต์สูงไว้ก่อน เมื่อแหล่งจ่ายไฟติดอยู่กับเคส ก็อาจจะเรียกรวม ๆ ไป เช่น เคส 300 วัตต์ ATX เป็นต้น

ข้อแตกต่างระหว่าง Case แบบ AT และ ATX และสิ่งที่จะสังเกตุได้จากภายนอกก็คือ
- มักจะใช้กับเครื่องรุ่นเก่า ขนาดจะเล็กกว่า ATX
- บางเครื่องปุ่มสวิทย์เปิดปิด จะค้างแสดงคุณสมบัติเปิด-ปิด
- หลังจากปิดเครื่องจากคำสั่งในโปรแกรมแล้วต้องกดปุ่มปิดอีกครั้งที่หน้า Case ด้วย
- มักจะใช้กับเครื่องรุ่นใหม่ ๆ
- ปุ่มสวิทซ์เปิดปิดจะไม่ค้าง ( กดกี่ครั้งก็ไม่รู้ว่ากดไปหรือยังคือปุ่มจะเด้งกลับ )
- ปิดเครื่องจากคำสั่งในโปรแกรมเท่านั้น



ภายในเคสจะมีช่องที่เรียกว่า เบย์ (bays) ซึ่งเป็นช่องที่ไว้สำหรับใส่ไดร์ฟต่าง ๆ เช่นCD-ROM, Floppy disk drive, tape drive คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะมีเบย์ประมาณ 3-4 ช่องและช่องสำหรับ Floppy disk drive ประมาณ 1-2 ช่อง นอกจากนี้ภายในยังมีเบย์เรียกว่า เบย์ภายใน สำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์อีกด้วย

         คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีแหล่งจ่ายไฟ เพราะกระแสไฟตามบ้านจะจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 150 ถึง 120 โวลต์ ซึ่งไม่เหมาะกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ต้องการไฟฟ้ากระแสตรง ประมาณ 5-12 โวลต์ คอมพิวเตอร์จึงต้องมีอุปกรณืที่เป็นตัวแปลงและจ่ายไฟเรียกว่า แหล่งจ่ายไฟ (power supply) ซึ่งจะมีพัดลมตัวเล็กๆ อยู่ใกล้เพื่อระบายความร้อน ที่มาจากหน่วยประมวลผล และอุปกรณ์อื่น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น